สภาพภูมิอากาศในตอนนี้มีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างมาก ทั้งนี้มีสาเหตุอยู่หลายอย่าง ที่เป็นตัวแปรสำคัญ ที่ทำให้สภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง ซึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เช่น อากาศที่ร้อนเพิ่มมากขึ้น สถานการณ์น้ำท่วมในหลายพื้นที่ ความแห้งแล้งในแถบภาคอีสาน ซึ่งสาเหตุหลักที่ทำให้สภาพภูมิอากาศเกิดการเปลี่ยนแปลงนั่นคือ มนุษย์ นั่นเอง

สืบเนื่องด้วยจำนวนประชากรที่เพิ่มมากขึ้นในแต่ละปี ก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมามากมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง การขาดแคลนพลังงาน ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ลดน้อยลง ภาวะโลกร้อน น้ำท่วม ภาวะแห้งแล้ง การเปลี่ยนแปลงทางชีวภาพฯ ปัญหาเหล่านี้ล้วนส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตทั้งสิ้น

เมื่อมีจำนวนประชากรที่เพิ่มมากขึ้น ที่อยู่อาศัยจึงไม่เพียงพอตามไปด้วย ส่งผลให้เกิดการตัดไม้ทำลายป่า เพื่อเป็นที่อยู่อาศัย ซึ่งปัญหาที่ตามมาหลังจากการตัดไม้ทำลายป่านั่นคือ ปัญหาน้ำท่วม สาเหตุเป็นเพราะไม่มีต้นไม้คอยกักเก็บน้ำเวลาที่ฝนตกหนัก และแหล่งกักเก็บน้ำ มีปริมาณที่ไม่เพียงพอ ทำให้เกิดสถานการณ์น้ำท่วม และเมื่อเกิดปัญหาน้ำท่วมแล้ว ผลกระทบที่ตามมานั่นคือ ความเสียหายต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ถนน สิ่งปลูกสร้าง พืชผลทางการเกษตร การแพร่กระจายของโรคระบาด เป็นต้น นอกจากนี้ การตัดไม้ทำลายป่า ยังส่งผลให้เกิดภาวะโลกร้อนอีกด้วย เนื่องจาก ต้นไม้ซึ่งเป็นแหล่งผลิตก๊าซออกซิเจนอีกทั้งยังเป็นตัวช่วยในการดูดซับก๊าซเรือนกระจก มีจำนวนลดน้อยลง ความต้องการในการใช้พลังงานมีมากขึ้นในทุกด้าน ส่งผลให้เกิดการเพิ่มขึ้นของก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศ ทำให้โลกร้อนมากยิ่งขึ้น

เมื่อเกิดภาวะโลกร้อนเนื่องมาจากการเพิ่มขึ้นของก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศ ผลที่ตามมานั่นคือ ความแห้งแล้ง ซึ่งมาจากความเข้มข้นของก๊าซเรือนกระจก ส่งผลให้ปริมาณรังสีดวงอาทิตย์บริเวณผิวโลกสูงขึ้น และเมื่อผิวโลกมีอุณหภูมิสูงขึ้น ก็จะส่งผลกระทบให้ปริมาณน้ำฝนและการระเหยของน้ำเกิดการเปลี่ยนแปลง น้ำใต้ดินและน้ำในลำธารระเหยแห้งไปตามปริมาณความร้อนที่เพิ่มสูงขึ้น เมื่อความร้อนสูงขึ้นผลที่ตามมาคือเกิดฝนตกน้อยลง ปัญหาภาวะแห้งแล้งจึงเกิดขึ้นตามมา ผลกระทบที่เกิดจากความแห้งแล้ง คือ ไม่สามารถทำการเกษตรและปลูกพืชอื่นๆ ได้ เช่น ไม่สามารถเพาะปลูกข้าวได้ ซึ่งทั้งนี้ ข้าวยังเป็นอาหารหลักของคนไทยอีกด้วย รวมทั้ง พืชเศรษฐกิจต่างๆ ด้วย

ผลกระทบต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงนี้ ล้วนแล้วแต่เป็นการกระทำของมนุษย์ทั้งสิ้น ดังนั้นเราควรร่วมมือกันรักษาทรัพยากรธรรมชาติให้คงอยู่มากที่สุด เพื่อลดการสูญเสียในด้านต่างๆ ให้ลูกหลานของเราได้ดำรงชีวิตอยู่อย่างมีความสุขต่อๆ ไป อีกนานเท่านาน

เมื่อพูดถึงภาวะโลกร้อนทุกคนก็คงจะคุ้นเคยกับคำๆ นี้เป็นอย่างดี เพราะมันเป็นสาเหตุหลักที่เริ่มมีการรณรงค์ในการใช้ทรัพยากรต่างๆ เพื่อดูแลรักษาโลกให้มากขึ้น ยิ่งโลกพัฒนาไปไกลมากเท่าไหร่เรื่องของความเสื่อมโทรมที่เกิดขึ้นต่อโลกก็มีมากขึ้นเท่านั้น ปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนก็คงจะเป็นใครไปไม่ได้นอกจากมนุษย์เองที่พยายามพัฒนาสิ่งต่างๆ บนโลกใบนี้จนบางครั้งไม่ได้ให้ความสนใจต่อผลกระทบที่เกิดขึ้นกับโลกเลยแม้แต่น้อย

ภาวะโลกร้อนเกิดจากการที่ก๊าซเรือนกระจกมีอยู่ในชั้นบรรยากาศของโลกมาเกินไปจนทำให้แสงแดดที่ถูกสาดส่องเข้ามายังโลกไม่สามารถที่จะสะท้อนกลับไปยังด้านนอกได้ เมื่อสะท้อนกลับไปไม่ได้ความร้อนต่างๆ ที่เกิดขึ้นก็จะถูกวนเวียนอยู่ในโลก ซึ่งตัวการสำคัญก็อย่างที่บอกไปว่ามนุษย์นี่เองคือคนที่ทำให้เกิดภาวะเรือนกระจกมากที่สุดเพื่อนำพลังงานต่างๆ มาใช้ให้เกิดความสะดวกสบาย ก๊าซที่สำคัญในการทำให้เกิดภาวะเรือนกระจกก็คือ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ปัจจัยหลักก็มาจากการเผาไหม้ยิ่งถ้าหากว่าเราใช้พลังงานบนโลกนี้มากขึ้นเท่าไหร่ ภาวะเรือนกระจกก็จะเกิดมากขึ้นตามเท่านั้น และยิ่งในโลกยุคปัจจุบันต้องยอมรับว่าเมื่อเทคโนโลยีพัฒนาก้าวไปไกลภายะโลกร้อนก็เพิ่มมากขึ้นในทุกๆ วัน ซึ่งต้องยอมรับว่ามันเป็นเรื่องที่ยากมากกับการที่ภาวะตรงนี้จะลดลงในอนาคต เพราะนับวันคนเราเองก็ต้องการพึ่งพาสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ มากขึ้น

พฤติกรรมที่ทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจก

  1. การตัดไม้ทำลายป่าทำให้ไม่มีต้นไม้ที่จะช่วยในการผลิตการออกซิเจนและดูดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ทำให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มีเพิ่มมากขึ้น
  2. ควันจากท่อไอเสียในการใช้รถยนต์จะปล่อยก๊าซโอโซนออกมาซึ่งไม่เป็นผลดีต่อโลกอย่างแน่นอน
  3. มีการเผาไหม้เชื้อเพลิงซึ่งมีต้นต่อมาจากถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ
  4. การใช้ผลิตภัณฑ์ประเภทโฟม พลาสติก ที่ไม่สามารถย่อยสลายได้ในระยะเวลาที่รวดเร็ว
  5. การเลือกใช้สิ่งอำนวยคามสะดวกต่างๆ เกินความจำเป็น อาทิ เปิดแอร์หลายๆ ตัวในห้องเดียว, เปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าทิ้งเอาไว้

สิ่งที่เกิดขึ้นสำหรับภาวะโลกร้อนหรือภาวะเรือนกระจกนั้นก็คงต้องไม่ต้องย้ำหรือว่าอธิบายอะไรกันให้มากความ เพราะตัวการสำคัญก็คือมนุษย์อย่างที่ได้บอกไป ยิ่งคนเราใช้ชีวิตได้อย่างสะดวกสบายมากเท่าไหร่โลกของเราก็จะยิ่งแย่ลงมากเท่านั้น และคนส่วนใหญ่ก็มักจะคิดเสมอว่าใช้แค่นี้เองไม่เป็นไรหรอก ซึ่งเป็นเรื่องที่ผิดมหันต์หากไม่อยากให้โลกแย่ไปมากกว่านี้ต้องร่วมมือร่วมใจลดโลกร้อน

หากมองกันที่ประเทศไทยแล้วโดยปกติถือว่าประเทศไทยเองจะมี 3 ฤดูกาลให้ได้สัมผัสกันประกอบไปด้วย ฤดูร้อน ฤดูฝน และฤดูหนาว ซึ่งถ้าถามว่าหลักๆ แล้วประเทศไทยมีฤดูอะไรที่เยอะที่สุดคำตอบนั้นก็คงจะหนีไม่พ้นฤดูร้อน อย่างไรก็ตามในแต่ละช่วงฤดูก็จะมีสภาพอากาศที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งสภาพอากาศตรงนี้ก็ย่อมที่จะส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ได้เช่นเดียวกันหากว่าไม่มีการเตรียมตัวเพื่อรับมือกับสภาพอากาศที่จะเกิดขึ้น มาดูวีการรับมือกับสภาพอากาศในแต่ละฤดูกาลว่าควรต้องทำอย่างไรบ้าง

ฤดูร้อน

  1. เตรียมเสื้อผ้าที่เนื้อผ้าไม่หนาจนเกินไปโดยทางที่ดีหากาว่าจำเป็นจะต้องออกไปอยู่ในที่โล่งแจ้งบ่อยๆ ก็ควรจะเป็นเสื้อแขนยาวเอาไว้ด้วย
  2. หาครีมกันแดดเพื่อเอาไว้ใช้ทาในยามที่จะต้องออกพื้นที่กลางแจ้งเสมอเพราะแดดจะทำให้เกิดปัญหาสิว ฝ้า กระ
  3. เตรียมร่มหรือหมวกเอาไว้สำหรับการป้องกันแดด
  4. ทำพื้นที่ภายในบ้านให้อากาศถ่ายเทอยู่ตลอดจะได้ช่วยลดการใช้พลังงานไฟฟ้าในส่วนที่ไม่จำเป็น
  5. พยายามทำพื้นที่ต่างๆ ไม่ให้รกหรือว่าไม่ให้มีเชื้อไฟกองสุมรวมกันอยู่เพราะหน้าร้อนเป็นจุดเสี่ยงต่อการเกิดไฟไหม้ได้

ฤดูฝน

  1. เตรียมร่ม เสื้อกันฝน หมวก หรืออุปกรณ์ต่างๆ ที่สามารถกันฝนได้ในยามที่ต้องออกพื้นที่กลางแจ้ง
  2. หากจำเป็นต้องใช้รถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ในการเดินทางก็ควรที่จะมีการตรวจสอบสภาพรถยนต์เกี่ยวกับยางและระบบเบรกให้ดีเสมอ
  3. ดูแลในส่วนของหลังคาบ้านให้ดีเพื่อป้องกันไม่ให้ในช่วงเวลาที่ฝนตกแล้วเกิดน้ำฝนรั่วซึมเข้ามายังบริเวณบ้าน
  4. พยายามอย่าทำให้มีภาชนะที่น้ำกักขังอยู่เพราะจะเป็นบ่อเกิดของยุงลายและโรคไข้เลือกออก
  5. เตรียมยาสำหรับป้องกันเวลาที่โดนฝนกลับเข้ามาก็ควรที่จะทานยาระงับเอาเพื่อไม่ให้เกิดอาการไม่สบาย
  6. อย่ากองสิ่งของต่างๆ เอาไว้ในมุมมืดหรือกองรวมกันเพราะอาจจะมีสัตว์ร้ายเข้ามาซุกอาศัยอยู่

ฤดูหนาว

  1. พยายามเตรียมเสื้อผ้าหนาๆ เพื่อเอาไว้ป้องกันร่างกายตัวเองไม่ให้เย็นจัดจนเกินไป
  2. เตรียมยาที่เอาไว้ป้องกันในยามที่เกิดอาการไข้หวัดต่างๆ เพราะฤดูหนาวเป็นฤดูที่คนป่วยโรคจำพวกนี้ค่อนข้างจะเยอะ
  3. เตรียมครีมสำหรับป้องกันหน้าลอกหรือลิบมันในกรณีที่ปากแห้ง ปากแตก
  4. พยายามอย่าให้มีการกองรวมกันของวัสดุที่ติดไฟง่ายเพราะเมื่อเวลาอากาศแห้งจัดสามารถที่จะก่อให้เกิดประกายไฟได้
  5. สร้างวิธีในการพยายามที่จะทำให้ร่างกายตัวเองอบอุ่นอยู่เสมอ อาทิ เตรียมฟืนเอาไว้สำหรับก่อไฟ เป็นต้น